Micronutrients คืออะไร (part 1)

🎉 Micronutrients คืออะไร (part 1) 🎉
📌 สัปดาห์ก่อนเราพูดถึงสารอาหารหลัก (Macronutrients) ไปแล้ว วันนี้เราจะดูกันค่ะว่า สารอาหารรอง (Micronutrients) คืออะไรและจำเป็นกับชีวิตเราแค่ไหน
📌 Micronutrients คือสารอาหารที่ร่างกายต้องการในประมาณเล็กน้อย แต่ขาดไม่ได้เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารอาหารรองได้แก่วิตามินและแร่ธาตุ วิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ทำจากพืชและสัตว์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ด้วยความร้อน กรดหรืออากาศ แร่ธาตุเป็นอนินทรีย์มีอยู่ในดินหรือน้ำและไม่สามารถย่อยสลายได้ วิตามินและแร่ธาตุมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การพัฒนาสมองและหน้าที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย (1, 2)
📌Vitamin แบ่งได้เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ (Water soluble vitamins) ได้แก่ วิตามินบี และ ซี และละลายในไขมัน (Fat soluble vitamins) ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
📌 วิตามินที่ละลายในน้ำ จะไม่ถูกเก็บไว้ในร่างกาย โดยจะขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ เมื่อเกินความจำเป็นของร่างกาย
•Vitamin B1 (Thiamine) ช่วยเปลี่ยนสารอาหารเป็นพลังงาน
• Vitamin B2 (Riboflavin) ช่วยในการเปลี่ยนไขมัน น้ำตาลและโปรตีนเป็นพลังงาน
•Vitamin B3 (Niacin) ช่วยในการสร้างพลังงาน ควบคุมสมดุลน้ำตาลในเลือดและลดโคเลสเตอรอล
•Vitamin B5 (Pantothenic acid) เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดไขมัน จำเป็นสำหรับสมองและประสาท ช่วยสร้างฮอร์โมนต่อต้านความเครียด บำรุงผิวและผมให้แข็งแรง
•Vitamin B6 (Pyridoxine) จำเป็นสำหรับการย่อยและการใช้โปรตีน การทำงานของสมอง และการผลิตฮอร์โมน ช่วยเรื่องสมดุลฮอร์โมนเพศ
•Vitamin B7 (Biotin) โดยมีส่วนสำคัญในการเผาผลาญไขมันและโปรตีน ช่วยในการส่งเสริมสุขภาพผิวหนัง ผม และเส้นประสาท
•Vitamin B9 (Folate) ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง จำเป็นมากสำหรับสตรีมีครรภ์เพราะช่วยเรื่องการพัฒนาระบบสมองและประสาท
•Vitamin B12 (Cyanocobalamin) จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดงและระบบประสาทและการทำงานของสมองที่เหมาะสม
•Vitamin C (Ascorbic acid) เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน จำเป็นสำหรับการสร้างสารสื่อประสาทและคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนหลักในผิวหนังของเรา
📌 วิตามินที่ละลายในไขมันจะถูกดูดซึมได้ดีที่สุดเมื่อบริโภคควบคู่อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมัน หลังจากบริโภควิตามินที่ละลายในไขมันจะถูกเก็บไว้ในตับและเนื้อเยื่อไขมันเพื่อใช้ในอนาคต
•Vitamin A (Retinol, beta carotene) จำเป็นสำหรับการมองเห็นและการทำงานของอวัยวะที่เหมาะสม
•Vitamin D (Ergocalciferol, Cholecalciferol) ส่งเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน และช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและการเจริญของกระดูก
•Vitamin E (d-alpha Tocopherol) ช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหาย
•Vitamin K (Phylloquinone) จำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือดและการพัฒนากระดูก
📌 Minerals สามารถแยกได้เป็น Macromineral เพราะร่างกายต้องการในปริมาณที่มาก ได้แก่
•Calcium (แคลเซียม) จำเป็นต่อการทำงานของกระดูกและฟัน
•Phosphorus (ฟอสฟอรัส) ส่วนหนึ่งของโครงสร้างกระดูกและเยื่อหุ้มเซลล์
•Magnesium (แมกนีเซียม) ช่วยในการตอบสนองของเอนไซม์มากกว่า 300 ปฏิกิริยารวมถึงการควบคุมความดันโลหิต
•Sodium (โซเดียม) อิเล็กโทรไลต์ที่ช่วยปรับสมดุลของของเหลวและรักษาความดันโลหิต
•Potassium (โพแทสเซียม) อิเล็กโทรไลต์ที่รักษาสถานะของเหลวในเซลล์และช่วยในการส่งกระแสประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ
•Chloride (คลอไรด์) พบร่วมกับโซเดียม ช่วยรักษาสมดุลของของเหลว
•Sulphur (กำมะถัน) เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อที่มีชีวิตทุกชนิดและมีอยู่ในกรดอะมิโนเมไทโอนีนและซีสเทอีน
📌 ส่วน Trace mineral ร่างกายของเราต้องการเพียงเล็กน้อย เช่น แมงกานีส (ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและคอเลสเตอรอล) ทองแดง (จำเป็นสำหรับการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และการทำงานของสมองและประสาท) เหล็ก (ช่วยให้ออกซิเจนแก่กล้ามเนื้อและช่วยในการสร้างฮอร์โมนบางชนิด) สังกะสี (จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตตามปกติการทำงานของภูมิคุ้มกันและการรักษาบาดแผล) ฟลูออไรด์ (จำเป็นสำหรับการพัฒนากระดูกและฟัน) เซเลเนียม (มีความสำคัญต่อสุขภาพของต่อมไทรอยด์การสืบพันธุ์และการป้องกันความเสียหายจากออกซิเดชัน)
✍️ ผู้เขียน : พราวศิริ จารุไสลพงษ์
📌References
(1) Fall, C. H., Yajnik, C. S., Rao, S., Davies, A. A., Brown, N., & Farrant, H. J. (2003). Micronutrients and fetal growth. The Journal of nutrition, 133 (5 Suppl 2), 1747S–1756S. https://doi.org/10.1093/jn/133.5.1747S
(2) Bourre J. M. (2006). Effects of nutrients (in food) on the structure and function of the nervous system: update on dietary requirements for brain. Part 1: micronutrients. The journal of nutrition, health & aging, 10(5), 377–385.